วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ประวัติของ Edward Snowden

                ประวัติของ Edward Snowden
ประวัติการเรียน  
]
เมื่ออายุได้ 16 ปี สโนว์เดนย้ายไปอยู่ที่เมืองเอลลิคอตต์ มลรัฐแมริแลนด์พร้อมกับครอบครัว และเข้าเรียนสาขาคอมพิวเตอร์ ที่วิทยาลัยแอนน์ อรันเดล คอมมิวนิตี คอลเลจ และตั้งใจเรียนต่ออนุปริญญา แต่ไม่สำเร็จ
ประวัติการทำงาน
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2547 เมื่ออายุได้ 21 ปี เขาเข้ารับใช้กองทัพสหรัฐฯ ด้วยความหวังว่าจะได้เป็นหน่วยรบพิเศษ ที่ไปรบในอิรัก เพื่อช่วยปลดปล่อยประชาชนจากการถูกกดขี่ แต่ระหว่างการฝึกได้เพียง 4 เดือน เขาได้รับอุบัติเหตุขาหักทั้งสองข้าง จึงถูกปลดจากกองทัพ 
ชีวิตพลิกผันไปเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สังกัดสภาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ NSA ประจำมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ ก่อนเข้าร่วมงานกับซีไอเอ ในตำแหน่งรักษาความปลอดภัยด้านไอที จากนั้น อีก 3 ปีต่อมา เขาถูกย้ายไปประจำที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในตำแหน่งเดิม ก่อนลาออกในปี 2552 เพื่อไปทำงานกับบริษัทเดลล์ และบูซ อัลเลน แฮมิลตัน
 
 บริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทนอก ที่รัฐบาลสหรัฐฯว่าจ้างให้ไปทำงานด้านไอที  ให้กับหน่วยซีไอเอ ภายใต้การบังคับบัญชาของ NSA เขาทำงานให้กับเดลล์หลายปี ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่บูธ อัลเลน แฮมิลตัน ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่มลรัฐฮาวาย เขามีบ้านอยู่ที่นั่น และใช้ชีวิตอยู่กับ ลินด์เซย์ มิลส์ แฟนสาวของเขา ซึ่งเป็นนักเต้นรูดเสา ที่คบหากันมา 4-5 ปี
          ประวัติการแฉ
1. แฉการดักฟังโทรศัพท์รัฐมนตรีสหรัฐ

 แฉเยอรมันดักฟังเจ้าหน้าที่ระดับสูงสหรัฐ! สื่อเยอรมันชื่อดัง “แดร์ สปีเกิล” เผยว่า หน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศที่ใช้ชื่อย่อว่า “บีเอ็นดี” เคยดักฟังโทรศัพท์ดาวเทียมของนายจอห์น แคร์รี รมว.ต่างประเทศสหรัฐเมื่อปี 2556 นอกจากนี้ ยังเคยดักฟังบทสนทนาระหว่างนางฮิลลารรี คลินตัน อดีตรมว.ต่างประเทศสหรัฐกับนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ในปี 2555 เช่นกัน...อย่างไรก็ตาม แดร์ สปีเกิลไม่ได้เปิดเผยชื่อของบุคคลที่ให้ข้อมูลดังกล่าว เพียงแต่เผยว่า บทสนทนาในโทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงข้างต้นนั้นถูกบันทึกไว้อย่างไม่ตั้งใจ เนื่องจากบุคคลทั้ง 3 ไม่ได้เป็นเป้าหมายในการดักฟังโดยตรง นอกจากนี้ แหล่งข่าวยังระบุว่า ในปี 2552 บีเอ็นดีพุ่งเป้าดักฟังไปที่เจ้าหน้าที่ขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ที่มาจากตุรกี ทั้งนี้ บีเอ็นดีและสถานทูตสหรัฐประจำกรุงเบอร์ลินยังไม่ออกมาอธิบายเรื่องดังกล่าว
       2.เปิดโปงแผนสร้างคอมเอ็นเอสเอ
เมื่อ 2 ม.ค. หนังสือพิมพ์ “วอชิงตันโพสต์” ของสหรัฐฯ อ้างข้อมูลจาก นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ (เอ็นเอสเอ) เปิดโปงแผนสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมของเอ็นเอสเอ ซึ่งสามารถทำลายระบบป้องกันข้อมูลคอมพิวเตอร์แทบทุกประเภทในโลก รวมถึงข้อมูลที่เข้ารหัสเอาไว้  ทั้งข้อมูลธนาคาร  สาธารณสุข ธุรกิจ อีเมล์ และข้อมูลรัฐบาลต่างๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมยังไม่บรรลุผล เพราะเป็นไปไม่ได้ที่เอ็นเอสเอจะสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมโดยหลุดรอดจากสายตานักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก  ขณะที่ทางเอ็นเอสเองดแสดงความเห็น ส่วนหนังสือพิมพ์ “นิวยอร์กไทม์” และ “เดอะ การ์เดียน” สื่อดังของสหรัฐฯ และอังกฤษ เรียกร้องรัฐบาลสหรัฐฯ ผ่อนผันโทษนายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน เมื่อ 3 ม.ค. โดยระบุว่าความกล้าหาญในการเปิดโปงโครงการสอดแนมของเอ็นเอสเอและการต่อสู้เพื่อสิทธิส่วนบุคคลของนายสโนว์เดน ควรได้รับการชื่นชมมากกว่าถูกลงโทษ.
3.สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ว่า จากรายงานของหนังสือพิมพ์ 'เอ็นอาร์ซี' ของประเทศเนเธอร์แลนด์ สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ของสหรัฐฯได้แพร่ไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิด มัลแวร์ เข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์กว่า 50,000 เครือข่ายทั่วโลก เพื่อใช้ในการจารกรรมข้อมูลละเอียดอ่อนเอ็นอาร์ซี รายงานโดยอ้างเอกสารลับและแผ่นสไลด์นำเสนอของเอ็นเอสเอ ซุ่งรั่วไหลออกมาด้วยฝีมือของ เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตลูกจ้างของเอ็นเอสเอง โดยสไลด์ดังกล่าวเป็นสไลด์นำเสนอในปี 2012 อธิบายวิธีการรวบรวมข้อมุลข่าวกรองจากทั่วโลกของเอ็นเอสเอ และพบด้วยว่า เอ็นเอสเอ ได้แพร่กระจายมัลแวร์เข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์กว่า 50,000 เครือข่าย


ปฏิบัติการสอดแนมนี้ของเอ็นเอสเอ กระทำโดยหน่วยงานพิเศษที่ชื่อว่า ทีเอโอ (Tailored Access Operations) ซึ่งข้อมูลจากแหล่งข่าวสาธารณะแสดงให้เห็นว่า หน่วยงานนี้จ้างแฮกเกอร์ไว้มากกว่า 1,000 คน และเมื่อเดือนส.ค. 2013 สำนักข่าว วอชิงตัน โพสต์ ก็เคยรายงานปฏิบัติการทางไซเบอร์เหล่านี้ของทีเอโอเช่นกัน โดยระบุว่า เอ็นเอสเอ กระจายมัลแวล์เข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์กว่า 20,000 เครือข่ายตั้งแต่ต้นปี 2008
เอ็นอาร์ซี ยังรายงานด้วยว่า ตัวเลขเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ติดวัลแวร์ของเอ็นเอสเอ เพิ่มขึ้นเป็น 50,000 เครือข่ายในช่วงกลางปี 2012 และแพร่กระจายไปหลายเมืองรวมถึง โรม, เบอร์ลิน, ปริสตินา, คินชาซา และย่างกุ้ง โดยมัลแวร์ตัวนี้ปกติจะอยู่ใน 'สลีป โหมด' และสามารถเปิดใช้งานได้ด้วยการกดปุ่มสั่งการเพียงปุ่มเดียว กด้านเอ็นเอสเอ ปฏิเสธไม่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้
ทั้งนี้ นายเกรแฮม คลูลีย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ ระบุในเว็บบล็อกของตัวเองว่า "เป็นที่ชัดเจนว่า แก็งอาชญากรรมไม่ใช่พวกเดียวที่สนใจในการเจาะเข้าไปในเครือข่ายคอมพิวเตอร์อีกต่อไปแล้ว ทุกองค์กรจำเป็นต้องถามตัวเองแล้วว่า พวกเขากำลังตกอยู่ในความเสี่ยงหรือไม่"
4.แฉแผนเด็ด
แหล่งข่าวเผยหน่วยข่าวกรองรัสเซีย ส่ง แอนนา แชปแมน สายลับ‘เซ็กซ์​ บอมบ์’เข้าหา เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน ‘จอมแฉ’ ชาวอเมริกัน หวังใช้ความสวยเซ็กซี่เย้ายวนเพื่อล้วงความลับของสหรัฐฯมากขึ้น 
สื่อต่างแดน รายงานอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวอดีตสายลับเคจีบีในรัสเซีย ว่า ขณะนี้ หน่วยสืบราชการลับของรัสเซีย FSB  หรือชื่อเดิม เคจีบี ที่โด่งดัง กำลังมีแผนให้ แอนนา แชปแมน สายลับสาวคนดังของเคจีบี ใช้ความสวยเซ็กซี่ของเธอ เย้ายวนนาย เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน หนุ่มอเมริกัน เพื่อหวังล้วงความลับ‘ลึกๆ’ของสหรัฐฯมากขึ้น หลังจาก สโนว์เดนเคยสร้างความเกรียวกราวกระหึ่มโลก เป็นผู้ออกมาเปิดโปงโครงการสอดแนมลับของสหรัฐฯ จนต้องหลบหนีออกนอกประเทศและขณะนี้ ได้ขอลี้ภัยอยู่ในรัสเซียต่อไปอีก 3 ปี 
นายบอริส คาร์พิชคอฟ อดีตสายลับเคจีบี เปิดเผยว่า แอนนา แชปแมน สายลับสาวเคจีบี   ได้รับคำสั่งจากนายวลาดิเมียร์ สโคริก หัวหน้าหน่วยสายลับเคจีบีของเธอให้ ‘หว่านเสน่ห์’ มัดใจสโนว์เดน รวมถึงขั้น วางแผนให้ทั้งคู่แต่งงานกันเลยทีเดียว เพื่อที่จะทำให้สโนว์เดน หนุ่มอเมริกันวัย 31 ปี สามารถพำนักอยู่ในรัสเซียได้โดยไม่ต้องคอยขอต่ออนุญาต
แอนนา แชปแมน โพสต์ภาพเซ็กซี่ของเธอลงในเฟซบุ๊ก
‘ถ้าสโนว์เดนยอมรับแต่งงาน จะทำให้เขาได้รับสิทธิเป็นพลเมืองรัสเซีย’ อดีตสายลับเคจีบี เปิดเผย พร้อมบอกว่า รัสเซียต้องการ‘ล็อก’สโนว์เดนให้อยู่ในรัสเซีย โดยระบุว่า สโนว์เดน และแชปแมนเคยพบกันครั้งหนึ่งแล้ว แต่สโนว์เดนมีความกังวลเกี่ยวกับผลที่จะเกิดตามมาหลังจากเขารู้จักกับแชปแมน
ทั้งนี้ แอนนา แชปแมน สายลับสาวเคจีบีสุดเซ็กซี่ ชาวรัสเซีย วัย 32 ปี เคยตกเป็นข่าวเกรียวกราว ถูกทางการสหรัฐฯ จับกุมในข้อหาเป็นสายลับ พร้อมกับคนอื่นๆ รวม 10 คน และได้เนรเทศเธอกลับรัสเซียตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนสายลับของสหรัฐฯ เมื่อปี 2553.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น